พันธุ์ปาล์มน้ำมัน

หลักในการเลือกใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมัน

         พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างของพันธุ์เหล่านี้ โดยพิจารณาความหนากะลาของผลปาล์มเป็นสำคัญ
1. พันธุ์ดูรา (Dura)เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนาประมาณ 2 ถึง 8 มิลลิเมตร มีชั้นเปลือกนอกที่ให้น้ำมัน (Mesocarp) ประมาณ 35 ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลปาล์ม พันธุ์ดูราเป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนามาก ๆ เรียกว่ามาโครคายา (Macrocarya) คือมีกะลาหนาประมาณ 6 ถึง 8 มิลลิเมตร และมักจะพบมากในแถบตะวันออกไกล เช่น พันธุ์เดลีดูรา (Deli Dura) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันพันธุ์ดูรามักใช้เป็นต้นแม่สำหรับปรับปรุงพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมเป็นการค้า
2. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางมาก หรือบางครั้งไม่มีกะลา เมล็ดในและผลมีขนาดเล็ก ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ผลผลิตแต่ละทะลายต่อต้นมีปริมาณต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะปลูกเพื่อเป็นการค้าและนิยมใช้พันธุ์ฟิสิเฟอราเป็นต้นพ่อสำหรับผลิตพันธุ์ลูกผสม
3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ดูราและพันธุ์พ่อฟิสิเฟอรา  เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบาง ประมาณ 0.5 ถึง 4 มิลลิเมตร มีปริมาณของ Mesocarp 60 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผลผลผลิตต่อทะลายสูง ในปัจจุบันจึงนิยมปลูกเป็นการค้า

ตาราง ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ลักษณะดูราเทเนอราฟิสิเฟอรา
1. ความหนากะลา (มิลลิเมตร)2-80.5-4บางมาก
2. เส้นใยรอบกะลาไม่มีมีมี
3. ผล/ทะลาย (%)6060มักเป็นหมัน
4. เปลือกนอก/ผล (%)60-6560-9092-97
5. กะลา/ผล (%)25-308-15บางมาก
6. เนื้อใน/ผล (%)4-203-283-8
7. น้ำมัน/เปลือกนอก (%)505030
8. น้ำมัน/ทะลาย18-19.522.5-25.525-30

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร

       โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมพันธุ์เทเนอรา (D x P) ซึ่งเป็นพันธุ์ลูกผสมชั่วที่ 1 ที่ได้จากการผสมระหว่างพ่อพันธุ์พิสิเฟอรา (Pisifera) และแม่พันธุ์ดูรา (Dura) 

https://www.arda.or.th/kasetinfo/south/palm/controller/01-02.php